น้ำตกปาโจ





         น้ำตกปาโจ ตั้งอยู่ที่บ้านปาโจ ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาสเป็นน้ำตกใหญ่ที่มีน้ำตลอดปี แต่ในหน้าแล้งน้ำค่อนข้างน้อย มีความสูงประมาณ 60 เมตร มีทางขึ้นไปสู่ต้นน้ำเป็นชั้นๆ รวม 9 ชั้น นับว่าเป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดและสวยงามแห่งหนึ่งของภาคใต้ เป็นส่วนหนึ่งของอุทยาน แห่งชาติบูโด - สุไหงปาดี มีพื้นที่คลอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอบาเจาะ อำเภอยี่งอ อำเภอระแง อำเภอรือเสาะ อำเภอสุไหงปาดี อำเภอจะแนะ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส อำเภอรามัน จังหวัดยะลา และอำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี

    สมัยก่อนเทือกเขาบูโด-สุไหงปาดี เป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาสันกาลาคีรีที่แบ่งเขตแดนไทย-มาเลเซีย เคยเป็นที่ซ่องสุมของผู้ก่อการร้าย จึงไม่ค่อยมีผู้ใดเข้ามาสัมผัสความมหัศจรรย์ของผืนป่าดงดิบแห่งนี้ เมื่อสถานการณ์คลี่คลายลง ในปี พ.ศ. 2517 กรมป่าไม้จึงจัดตั้งวนอุทยานน้ำตกปาโจ และกลายมาเป็นอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 294 ตารางกิโลเมตร

    ปาโจ ตามภาษามลายูท้องถิ่น เรียกว่า น้ำตก แต่โดยทั่วไปแล้วคนจะรู้จักกัน “ ปาโจแปะบุญ ” แปลว่า น้ำตกแปะบุญหรือน้ำตกบาเจาะ มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีพันธุ์ไม้ที่มีค่านานาชนิด สถานที่แห่งนี้ที่มีความสวยงามตามธรรมชาติมากที่สุดแห่งหนึ่ง ความสำคัญทางธรรมชาติ เป็นสภาพที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวจังหวัดนราธิวาส และจังหวัดใกล้เคียง

    นอกจากจะมีธรรมชาติที่สวยงามแล้วยังเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญ คือ พลับพลา “ศาลาธารทัศน์” ของรัชกาลที่ 7 เมื่อคราวเสด็จประพาสจังหวัดนราธิวาสและหินสลักจารึกพระปรมาภิไธยย่อและนามาภิไธยย่อ ในมหาจักรีวงศ์ของไทย ทั้งในอดีตและปัจจุบัน พร้อมกันนี้ยังเป็นที่ตั้งมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือกของ ศ.ดร.พิไล พูลสวัสดิ์ และเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติบูโด – สุไหงปาดี น้ำตกปาโจ เรียกตามชื่อหมู่บ้าน ปาโจ ที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียง

     จุดสนใจอีกอย่างหนึ่งของน้ำตกแห่งนี้คือการมี ใบไม้สีทองหรือ ย่านดาโอ๊ะ พันธุ์ไม้ชนิดนี้ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในโลกที่นี่ เมื่อปี พ.ศ. 2531 ใบไม้สีทองเป็นไม้เลื้อย มีลักษณะใบคล้ายใบชงโคหรือใบเสี้ยว แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก บางใบใหญ่กว่าฝ่ามือเสียอีก มีขอบหยักเว้าเข้าทั้งที่โคนใบ และปลายใบ ลักษณะคล้ายวงรีสองอันอยู่ติดกัน ทุกส่วนของใบจะปกคลุมด้วยขนกำมะหยี่เนียนนุ่ม มีสีทองหรือสีทองแดงเหลือบรุ้งเป็นประกายงดงามยามต้องแสงอาทิตย์ สามารถมองเห็นได้จากระยะไกล และยังมีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ หายาก มีราคาแพง และกำลังจะสูญพันธุ์ คือ หวายตะค้าทอง









       และบริเวณป่าโดยรอบก็ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์หายากนานาชนิด เช่น แรด ชะนีมือดำ สมเสร็จ เลียงผา นกเงือกพันธุ์หายากที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ได้แก่ นกเงือกหัวแรด นกเงือกชนหิน และนกเงือกหัวหงอกและที่สำคัญ คือ ค่างแว่นถิ่นใต้ มีถิ่นอาศัยอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางตอนใต้ของพม่า ภาคใต้ของประเทศไทย ไปจนถึงมาเลเซียและหมู่เกาะใกล้เคียง นอกจากค่างแว่นถิ่นใต้แล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น